วิธีการตั้งค่า Clock CPU

วิธีการตั้งค่า Clock CPU เพื่อเร่งความเร็วคอมพิวเตอร์ โอเวอร์คล็อกคืออะไร

การตั้งค่า Clock CPU เพื่อเร่งความเร็วคอมพิวเตอร์ โอเวอร์คล็อกคืออะไร กล่าวง่ายๆ เกี่ยวกับโอเวอร์คล็อก ผลของมันจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น แรงขึ้น โดยไม่ต้องไปเสียเงินในการทำแต่อย่างใดเรามาลองรู้จัก “โอเวอร์คล็อก” กันลึกๆ กว่านี้ดีกว่า เคยมีคนถามว่า “โอเวอร์คล็อก” มันจะทำให้เครื่องของเราทำงานได้เร็วขึ้น แรงขึ้นได้จริงหรือ? คำตอบก็คือว่า “โอเวอร์คล็อก” มันคือการเพิ่มความเร็วให้กับซีพียู โดยการปรับแต่งความเร็วของระบบบัสภายในหรือการปรับเปลี่ยนความถี่ของซีพียูให้มีความเร็วมากขึ้น จากเดิมที่มีความเร็ว 1000 MHz เมื่อเรานำมาโอเวอร์คล็อกแล้วก็จะเพิ่มเป็น 1300 MHz บางทีมันอาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ โดยที่เราไม่ต้องไปเสียเงินที่จะต้องมาซื้อเครื่องใหม่ แต่ก่อนที่จะทำโอเวอร์คล็อก เราควรรู้จักหลักการและคำศัพท์กันก่อนดีกว่า

คำศัพท์ที่ต้องรู้จักก่อนที่จะทำโอเวอร์คล็อก

Front Side BUS

          เรียกสั้นๆ ว่า FSB หรือบัสก็ได้ หมายถึงการส่งข้อมูลของลายวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง FSB นั้น จะทำการส่งข้อมูลไปพร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่วยความจำและสล็อตต่างๆ บนเมนบอร์ด อย่างเช่นสล็อต AGP , PCI ซึ่ง FSB สัญญาณนาฬิกาหรือที่เราเรียกว่า ความถี่ แต่ละอุปกรณ์จะมีความแตกต่างกันไป FSB ก็จะเป็นตัวควบคุมจังหวะการทำงานว่าจะเร็วหรือช้า เป็นต้น

Multiplier (ตัวคูณ)

          ซีพียูทุกตัวจากค่าย Intel กับ AMD ต่างก็มีตัวคูณอยู่ในตัวอยู่แล้วซึ่งในแต่ละซีพียูก็จะมีตัวคูณไม่เท่ากัน เช่น AMD Athlon XP 2500+ ใช้ตัวคูณ 11.0x และใช้ FSB 166 MHz จะได้ (11×166 = 1826 = 1826 MHz ) ส่วน  AMD Athlon64 3200+ ใช้ตัวคูณ 10.0x ใช้ FSB 200 MHz ( 10×200 = 2000 MHz ) จะเห็นได้เลยว่าซีพียูแต่ละตัวใช้ FSB ที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อโอเวอร์คล็อกแล้วซีพียูบางตัวก็สามารถเปลี่ยนค่าตัวคูณได้ (AMD) บางตัวก็ไม่ได้ (Intel) อย่างไงก็ตาม เราอย่าไปสับสนกับ FSB นะ

Vcore

          มันคือไฟที่ไปเลี้ยงซีพียู แน่นอนว่าโอเวอร์คล็อกสามารถเพิ่มไฟไปเลี้ยงให้กับซีพียูได้ ซึ่งซีพียูทุกตัวต่างก็มีไฟเลี้ยงเป็นของตัวเอง และไฟเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่น Intel Celeron D Processor 330 2.66 GHz ใช้ไฟไปเลี้ยง 1.4 โวลต์ และ AMD Atlon64 FX-53 2.4 GHz ใช้ไฟเลี้ยง 1.6 โวลต์ แต่ โอเวอร์คล็อกเราสามารถเพิ่มไฟไปเลี้ยงซีพียูให้สูงๆ ได้ เพราะถ้าซีพียูทำงานหนักขึ้น ก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้นไปด้วย แต่ทั้งหมดนี้ก็อยู่กับระบบระบายความร้อนของแต่ละซีพียู เพราะมันอาจจะไหม้หรือพังไปเลยก็ได้

Vmem , VDD

          อันนี้ก็เป็นไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับหน่วยความจำ ซึ่งหน่วยความจำ DDR1 จะมีกำลังไฟเลี้ยงที่ 1.6 โวลต์ แต่ถ้าเป็น DDR2 ก็จะใช้ไฟ 1.4 โวลต์ในการเลี้ยง โดยมีหลักการเพิ่มคล้ายๆ กับ Vcore ไฟไปเลี้ยงเยอะเท่าไรก็เร็ว แรงเท่านั้น ทั้งหมดนี้ก็อยู่ที่แรมของคุณด้วยว่ามีความถี่สูงเพียงใด และก็อยู่ที่การระบายความร้อนอีกด้วย

VIO

          มันคือไฟเลี้ยงที่ป้อนให้กับซิปเซต ส่วนมากแล้วเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งค่านี้ได้จะเป็นเมนบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับการโอเวอร์คล็อกจริงๆ อย่างเช่น เมนบอร์ดของ ABIT , DFI , MSI และ ASUS เป็นตัน สามารถปรับ VIO ให้กับซิปเซ็ตได้อีกด้วย

Cas latency

          เรียกกันสั้นๆ ว่า CL หรือ Timing มันคือ อัตราการรีเฟรชข้อมูลของแรมในหนึ่งลูกคลื่น ซึ่งการรีเฟรชข้อมูลหน่วยความจำบ่อยๆ หรือ CL จะทำให้แรมทำงานได้เร็วขึ้น เนื่องจากจะใช้เวลาในการส่งข้อมูลสั้นลง ซึ่งค่า CL นั้นจะเป็นตัวเลขที่ท้าย 4 ตัวของแรม เช่น แรมยี่ห้อ Corsair DDR XMS 512 MB PC3200 2-7-3-3 จะเป็นค่าของเวลาที่แรมจะทำการหน่วงข้อมูลแล้วส่งไปยังชิปเซ็ต และชิปเซ็ตก็จะประมวลผลอีกที

AGP / PCI

          หมายถึง ความเร็วของการ์ดแสดงผลที่เป็นอินเตอร์เฟช AGP ที่มีความเร็ว 66 MHz และความเร็วของอุปกรณ์ PCL ที่มีความเร็ว 33 MHz ค่า 2 ค่านี้จะเปลี่ยนตาม FSB ซึ่งหากเมนบอร์ดปรับอัตราทดได้แล้วนั้น ค่า AGP/PCI จะทำงานที่ความเร็วดังในตารางที่แสดงอยู่ แต่เมนบอร์ดบางรุ่นสามารถที่จะกำหนดความถี่ให้กับความเร็วของ AGP/PCI เมื่อเราปรับ FSB ให้สูงขึ้น

การโอเวอร์คล็อกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. การโอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB อย่างเดียว

          การทำโอเวอร์คล็อกแบบนี้จะเป็นการเพิ่มความถี่ของ FSB ให้มากขึ้น แล้วความเร็วของซีพียูก็จะเปลี่ยนไปตามค่าความถี่ที่เราตั้งขึ้นว่าจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับตัวคูณของซีพียูนั้นว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่าง ปกติซีพียูทำงานที่ความเร็ว 1000 MHz จากนั้นก็จะทำการเปลี่ยนตาม คือ 10×133 = 1330 MHz โดยเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะกำหนดค่าของ FSB ได้ ซึ่งค่า FSB จะไม่ส่งผลกระทบต่อความเร็วอื่นๆ หรือก็คือ ถ้าเราใช้งาน FSB ดังกล่าวแล้ว AGP / PCI ก็ยังทำงานปกติ ซึ่งไม่มีผลเสียใดๆ

ผลเสียของการโอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB

          จะทำให้อุปกรณ์อื่นๆ ทำงานผิดปกติไปจากเดิม เพราะ FSB ของระบบเปลี่ยนไปจากเดิม แต่ถ้าเมนบอร์ดของคุณปรับอัตราทด AGP / PCI ได้หรือกำหนดค่าได้นั้น ก็จะทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานได้ตามปกติแม้ความเร็วของ FSB จะเปลี่ยนไปก็ตาม

2. การโอเวอร์คล็อกแบบปรับตัวคูณอย่างเดียว

          เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแต่ทำได้แต่ในซีพียูของ AMD เท่านั้น จากปกติที่ความเร็วของซีพียูจะอยู่ที่ 1000 MHz ก็จะไปปรับตัวคูณซีพียูจาก 10 เป็น 12 เราจะได้ความเร็วซีพียูที่เพิ่มขึ้น หรือ เราจะปรับเปลี่ยนไปพร้อมกับ Vcore ก็ได้

ผลเสียของการโอเวอร์คล็อกแบบปรับตัวคูณ

          ก็คือจะทำให้ซีพียูทำงานเร็วขึ้นแต่ระบบอื่นๆ ยังทำงานในระดับเดิม

3. การปรับโอเวอร์คล็อกแบบ FSB และ ตัวคูณไปพร้อมกัน

          การโอเวอร์คล็อกแบบนี้ถือว่าเป็นการเร่งประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแท้จริง ทั้งด้านเสถียรภาพและความเร็ว เพราะจะทำให้ระบบโดยรวมทำงานไปเร็วสูสีกัน

การระบายความร้อนก็มีผลต่อการโอเวอร์คล็อก

          พูดถึงความร้อนของอุปกรณ์ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก็มีหมดทั้งนั้นแหละ แต่คอมพิวเตอร์ปกติความร้อนจะออกมาอยู่แล้ว ยิ่งถ้าได้โอเวอร์คล็อกแบบอัด Vcore, Vmem เพิ่มไฟต่างๆ แล้ว ความร้อนก็มีผลอย่างมากในการโอเวอร์คล็อก ดั้งนั้นเราควรดูแลและควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเกิน เพื่อความเสถียรภาพในการทำงาน

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการโอเวอร์คล็อก

เวลาที่เราทำโอเวอร์คล็อกควรค่อยๆ ทำ อย่าใจร้อนและปรับแบบก้าวกระโดด

     •   ซีพียูทุกตัวจะสามารถโอเวอร์คล็อกได้ แต่ใช่ว่าจะปรับให้เท่ากันได้ แม้จะเป็นรุ่นเดียวกันก็ตาม

     •   เมนบอร์ดที่ดีจะมีฟังก์ชันในการโอเวอร์คล็อกที่ครบครันสามารถปรับและกำหนดค่าต่างๆ ได้หมด

     •   Vcore ยิ่งเพิ่มมากขึ้นโอเวอร์คล็อกก็ยิ่งมากขึ้นไปด้วย

     •   หน่วยความจำ หรือ RAM ที่ดีต้องรับกับความถี่และ FSB สูงๆ ได้และมีค่า Timing ต่ำๆ

ผลเสียจากการโอเวอร์คล็อก

แน่นอนว่าทำให้คอมพิวเตอร์เร็ว แรง ขึ้นแล้วก็ต้องมีผลเสียตามมา

     •   ทำให้ซีพียูทำงานอย่างหนัก เนื่องจากเกินจากที่โรงงานผลิตออกมา มันจะส่งผลให้ซีพียูมีอายุการทำงานลดลงประมาณ 10%

     •   อุปกรณ์โดยรวมที่เราได้โอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB แล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ด อาจเกิดปัญหาในการทำงานได้ แต่ถ้ารู้ว่าเป็นที่จุดไหนก็เปลี่ยนได้อย่างไม่มีปัญหา

     •   อุปกรณ์ที่จะนำไปรวมโอเวอร์คล็อกให้ได้นั้น มีประสิทธิภาพแพงกว่าปกติ ซึ่งเป็นที่แน่นอน แต่ผลลัพธ์ที่ได้มานั้น คุ้มค่ามาก

     •   ต้องคอยดูแล ตรวจเช็คระบบอย่างสม่ำเสมอ ว่าอุปกรณ์แต่ละตัวยังทำงานปกติหรือไม่ เมื่อเราทราบถึงหลักการของการโอเวอร์คล็อกกันไปที่เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถโอเวอร์คล็อกไม่ยากเย็นนัก เท่าที่เมนบอร์ดของแต่ละตัวที่ใช้จะสนับสนุนให้ปรับแต่งได้มากน้อยเพียงใด

Related posts

Leave a Comment